ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี
ลักษณะที่ ๖ การควบคุม
บทที่ ๕ การนำผู้ถูกควบคุมเดินทาง
ข้อ ๑๔๘ วิธีการควบคุมระหว่างเดินทาง ให้ปฏิบัติดังนี้
(๒) ถ้าจะควบคุมหรือพาผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังไปยังสถานที่หนึ่งที่ใดให้ใช้ยานพาหนะตามแต่กรณี ดังต่อไปนี้ก. ในกรุงเทพมหานคร การควบคุมพาผู้ต้องหาก็ดี หรือจำเลย หรือผู้ต้องขังก็ดี ให้ไปมาในหน้าที่ที่กิจราชการของตำรวจโดยตรง ให้ใช้ยานพาหนะของตำรวจแต่ละหน่วย ที่เป็นผู้ควบคุม
ข. ถ้าการควบคุมผู้ต้องขังหรือจำเลยนั้นเป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์หรือกรมประชาสงเคราะห์ ทางการตำรวจเป็นแต่มีหน้าที่ดำเนินการควบคุม ให้ใช้ยานพาหนะของกรมราชทัณฑ์หรือกรมประชาสงเคราะห์ตามควรแก่กรณี
บทที่ ๗ การรับช่วงคุมส่ง
ข้อ ๑๕๒ การควบคุมตัวผู้ต้องขัง หรือจำเลย หรือผู้ต้องหา ไปส่งยังจังหวัดที่มีการคมนาคมไม่สะดวก ตำรวจในจังหวัดอื่นที่ควบคุมไม่มีความชำนาญต่อท้องที่ย่อมไปมาลำบาก ทั้งผู้ต้องขังหรือจำเลยหรือผู้ต้องหาที่ควบคุมไปอาจหลบหนีได้โดยง่าย จำเป็นต้องจัดให้ตำรวจผู้ชำนาญทางกว่ารับช่วงคุมส่งไปให้ ....
บทที่ ๙ การควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้ต้องขัง ไปมาระหว่างศาลกับเรือนจำ
ข้อ ๑๕๗ ให้เจ้าหน้าที่เรือนจำผู้มอบตัวและตำรวจผู้รับมอบตัวควบคุมไปศาล ต่างฝ่ายต่างจัดสมุดไว้ฝ่ายละ ๑ เล่ม สำหรับจดรายชื่อตามที่มอบและรับตัวไว้ ให้ตำรวจผู้รับตัวลงนามรับในสมุดของพนักงานเรือนจำ และให้พนักงานเรือนจำทำเป็นบัญชีรายชื่ออีกฉบับหนึ่งซึ่งตรงกับรายนามในสมุด มอบแก่ตำรวจผู้ควบคุมไว้เป็นคู่มือตรวจสอบ ส่วนสมุดจดรายชื่อฝ่ายตำรวจ ให้ตำรวจผู้ควบคุม ที่นำตัวกลับจากศาลนั้น ให้เจ้าหน้าที่เรือนจำลงนามรับตัวคืนในสมุดนั้นเป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๕๘ ถ้าตำรวจผู้ควบคุมได้รับตัวผู้ถูกควบคุมเพิ่มเติมจากศาลด้วยกรณีใดก็ตาม ก็ให้ลงรายนามเพิ่มเติมในสมุดของตำรวจ แล้วมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่เรือนจำ พร้อมกับหมายศาลส่งให้เจ้าหน้าที่เรือนจำลงนามรับไว้ในสมุดเป็นหลักฐานเช่นเดียวกัน
มาตรการควบคุมผู้ต้องขัง
(ตามหนังสือที่ ยธ ๐๗๐๕.๑/๓๓๔๐๕ ลง ๓ พ.ย.๒๕๕๘)
ผู้ต้องขังไปศาล เรือนจำ / ทัณฑสถาน ส่วนภูมิภาค
๒๔. หน้าที่ในการควบคุมผู้ต้องขังจากเรือนจำไปศาล เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
๓๕. ให้เจ้าหน้าที่เรือนจำตรวจค้นพาหนะในการรับ-ส่งผู้ต้องขังไปศาลอย่างละเอียด ทั้งไปและกลับ
๓๖. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของรถยนต์บรรทุกผู้ต้องขังก่อนการรับ-ส่ง หากเห็นว่ายังขาดความมั่นคงปลอดภัยให้ทำการปรับปรุงเพื่อให้มั่นคงปลอดภัยในการควบคุมผู้ต้องขัง
.....
เรือนจำ / ทัณฑสถานในเขตกรุงเทพมหานครและเรือนจำกลางบางขวาง
๔๓. หน้าที่ในการควบคุมผู้ต้องขังไปศาล เป็นหน้าที่ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษธนบุรี และเรือนจำพิเศษมีนบุรี
ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง
- หนังสือที่ ยธ ๐๗๐๕/ว ๗๕ ลง ๑๖ ธ.ค.๒๕๔๖ เรื่อง มาตรการในการควบคุมและการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาขังกรณีไปศาล และกรณีรับตัวเข้าใหม่
- หนังสือที่ ยธ ๐๗๐๕.๑/๓๓๔๐๕ ลง ๓ พ.ย.๒๕๕๘ เรื่อง มาตรการควบคุมผู้ต้องขัง
- ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๖ การควบคุม